แกแล

 

 

แกแล

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Maclura cochinchinensis (Lour.) Corner
ชื่อวงศ์ : MORACEAE
ชื่ออื่น : แกก้อง, สักขี, เหลือง, แกล, แหรเข, ช้างงาต้อก, น้ำเคี่ยวโซ่, หนามเข

รูปลักษณะ : แกแล เป็นไม้พุ่ม สูง 5-10 เมตร มียางขาว ใบเดี่ยว เรี่ยงสลับ เวียนรอบกิ่งรูปวงรี กว้าง 1-3.5 ซม. ยาว 2- 9 ซม. มีหนามแหลมออกตรงซอกใบ 1 อัน ยาวประมาณ 1 ซม. ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ แยกเพศ อยู่คนละต้น รูปกลม ผล เป็นผลรวม

สรรพคุณของ แกแล : แก่น ใช้แก่นแก้ไข้รากสาด แก่น มีรสขม ใช้แก่นแก้ไข้รากสาด แก้ท้องร่วง บำรุงน้ำเหลือง บำรุงกำลัง บำรุงเลือด แก้พุพอง เป็นยาขับปัสสาวะ  และสารสกัดด้วยเฮกเซนและคลอโรฟอร์มจากรากของสมุนไพรแกแล สามารถออกฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ แก้โรคเหน็บชา 

ตองแต่ ถ่อนดี ทนดี


ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Baliospermum  montanum  Muell.A
ชื่อพ้อง :   Baliospermum solanifolium  (Burm.) Suresh

ชื่อสามัญ :   

วงศ์ :   EUPHORBIACEAE

ชื่ออื่น :  ตองแต่ (ประจวบคีรีขันธ์) ถ่อนดี ทนดี (ภาคกลาง, ตรัง) โทะโคละ พอบอเจ๊าะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) นองป้อง ลองปอม (เลย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :  ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-2 เมตร แตกแขนงจากโคนต้น ก้านใบเรียวยาว ยาว 2-6 ซม. ยอดอ่อนมีขน ใบ เดี่ยวเรียงสลับ มีขนาดและรูปร่างต่างๆ กัน ใบที่อยู่ตามปลายยอดรูปใบหอกหรือรูปรี กว้างประมาณ 3.5 ซม. ยาวประมาณ 7 ซม. ใบที่ตามโคนต้นมักจักเป็นพู 3-5 พู รูปขอบขนานแกมรูปไข่ หรือเกือบกลม กว้างประมาณ 7.5 ซม. ยาว 15-18 ซม. โคนสอบหรือมน มีต่อม 2 ต่อม ปลายแหลม ขอบหยักแบบฟันเลื่อยห่างๆ ไม่สม่ำเสมอ มีเส้นใบออกจากโคนใบ 3-5 เส้น และออกสองข้างของเส้นกลางใบ ข้างละ 5-8 เส้น เส้นใบด้านล่างเห็นชัดกว่าด้านบน เนื้อบาง ดอก ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียอยู่บนต้นเดียวกัน หรือบนช่อเดียวกัน ช่อดอกเล็กเรียว ยาว 3.5-12 ซม. ดอกเพศผู้ มีจำนวนมาก อยู่ทางตอนบนของช่อ ดอกมีรูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 มม. ก้านดอกย่อยเล็กเรียวคล้ายเส้นด้าย ยาว 3-5 มม. กลีบเลี้ยงมี 4-5 กลีบ รูปกลม ไม่มีกลีบดอก ฐานดอกมีต่อม 4-6 ต่อม เกสรเพศผู้มี 15-20 อัน อับเรณูคล้ายรูปถั่ว ดอกเพศเมียออกที่โคนช่อ กลีบเลี้ยงรูปไข่ปลายแหลม ขอบจัก ฐานดอกเป็นรูปถ้วยสั้นๆ รังไข่มี 3 พู ก้านเกสรเพศเมียแยกเป็น 2 แฉก ม้วนออก ผล เป็น 3 พู กว้างประมาณ 1 ซม. ยาว 0.8 ซม. ปลายบุ๋ม มีก้านเกสรเพศเมียติดอยู่ 2 อัน โคนผลกลม มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ ผลแก่แตกตามยาวที่กลางพู แต่ละพูมี 1 เมล็ด เมล็ด รูปขอบขนาน
          ตองแตก ขึ้นในป่าดิบ ป่าไผ่ และตามที่รกร้างทั่วไป ถึงระดับความสูง 700 เมตร เขตกระจายพันธ์ ตั้งแต่อินเดีย (พบไม้ต้นแบบ) ปากีสถาน บังคลาเทศ ลงมาถึงพม่า อินโดจีน คาบสมุทรมาเลเซีย
ส่วนที่ใช้ :   ราก ใบ เมล็ด

สรรพคุณ :

ราก -  เป็นยาถ่าย ถ่ายไม่ร้ายแรงนัก ถ่ายลมเป็นพิษ ถ่ายพิษพรรดึก ถ่ายเสมหะเป็นพิษ (และมีคุณคล้ายหัวดองดึง) ถ่ายแก้น้ำดีซ่าน

ใบ, เมล็ด -  เป็นยาถ่าย ยาถ่ายพยาธิ แก้ฟกบวม

เมล็ด -  เป็นยาถ่ายแรงมาก (ไม่นิยมใช้)

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้ :
           ใช้ใบ 2-4 ใบ หรือ ราก 1 หยิบมือ ยาไทยนิยมใช้ราก 1 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อยรับประทาน

 

ชะพลู รากชะพลู



ชื่อวิทยาศาสตร์ Piper sarmentosum Roxb.
ชื่อสามัญ Wildbetal Leafbush
วงศ์ PIPERACEAE
ชื่ออื่น นมวา (ภาคใต้) ผักปูนา ผักพลูนก พลูลิง (ภาคเหนือ) เย่เท้ย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก ลำต้นทอดคลานไปตามพื้นดิน สูง 30-80 เซนติเมตร ลำต้นสีเขียว มีไหลงอกเป็นต้นใหม่ มีรากงอกออกตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ แผ่นใบบาง ผิวใบเรียบสีเขียวเข้มเป็นมัน ใบรูปหัวใจ กว้าง 5-10 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบรูปทรงกระบอก ดอกเล็กสีขาวอัดแน่นอยู่บนแกนช่อดอก ดอกแยกเพศ ผล เป็นผลสด กลม อัดแน่นอยู่บนแกนส่วนที่ใช้ : ผล ใบ ทั้งต้น ราก
สรรพคุณ :
  • ผล - เป็นส่วนผสมของยารักษาโรคหืด แก้บิด
  • ราก ต้น ดอก ใบ - ขับเสมหะ
  • ราก - แก้ธาตุพิการ บำรุงธาตุ แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อขับลม แก้บิด
  • ทั้งต้น - แก้เสมหะ ท้องอืด ท้องเฟ้อ - รักษาโรคเบาหวาน
วิธีและปริมาณที่ใช้
  • รักษาโรคเบาหวาน ใช้ชะพลูสดทั้ง 5 จำนวน 7 ต้น ล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้พอท่วม ต้มให้เดือดสักพัก นำมาดื่ม เหมือนดื่มน้ำชา ข้อควรระวัง - จะต้องตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนดื่มและหลังดื่มทุกครั้ง เพราะว่าน้ำยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก ต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวันที่ต้ม ต้มดื่มต่อไปทุกๆ วัน จนกว่าจะหาย
  • แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม ใช้ราก 1 กำมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 1/2 ถ้วยแก้ว รับประประทานครั้งละ 1/2 ถ้วยแก้ว
แก้บิด ใช้รากครึ่งกำมือ ผล 2-3 หยิบมือ ต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวให้เหลือ 1 ถ้วยแก้ว รับประทานครั้งละ 1/4 ถ้วยแก้ว

สรรพคุณ / ประโยชน์ของใบชะพลู (ชะพลู) คุณค่าทางอาหารของใบชะพลู
คุณค่าสมุนไพรใบชะพลูนั้นได้แก่รากนั้นใช้ขับเสมหะ บำรุงธาตุ ใบมีคุณสมบัติเจริญอาหารและขับเสมหะ เถาและรากก็ใบขับเสมหะเหมือนกัน รับประทานใบชะพลูบ้างเพื่อปรับธาตุปรับสมดุลในร่างกาย แต่อย่ามากเกินเพราะอาจเป็นพิษกับตัวคนกินได้ ดังนั้นรู้จักความพอดีได้ในใบชะพลู

ประโยชน์ของใบชะพลู
ในใบชะพลูมีสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายของมนุษย์อย่างมาก คือ แคลเซียมและวิตามินเอซึ่งจะมีสูงเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส เหล็ก เส้นใย และสารคลอโรฟิล ส่วนสรรพคุณทางยานั้นช่วยบำรุงธาตุ แก้จุกเสียด การกินใบชะพลูมาก ๆ ชนิดที่เรียกว่า กินกันทุกวัน กินกันแทบทุกมื้อ เช่น ชาวบ้านภาคอีสานนั้น แคลเซียมที่มีในใบชะพลูจะเปลี่ยนเป็นแคลเซียมออกซาเลท ซึ่งถ้าสะสมมาก ๆ อาจกลายเป็นนิ่วในไตได้ แต่โดยทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวันก็ไม่มีใครกินชะพลูได้มากมายขนาดนั้น ถ้ากินใบชะพลูต้องกินร่วมกับเนื้อสัตว์ร่างกายจึงใช้แคลเซียมที่มีอยู่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

สรรพคุณของใบชะพลู
- ดอก : ทำให้เสมหะแห้ง ช่วยขับลมในลำไส้
- ราก : ขับเสมหะให้ออกมาทางระบบขับถ่าย ขับลมในลำไส้ ทำให้เสมหะแห้ง
- ต้น : ขับเสมหะในทรวงอก
- ใบ : มีรสเผ็ดร้อน ทำให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ ในใบชะพลูมีสาร เบต้า-แคโรทีน สูงมาก

ข้อควรระวัง
อย่างไรก็ตามใบชะพลูก็มีข้อควรระวังที่สำคัญนั่นคือ ไม่ควรกินใบชะพลูในปริมาณมากเกินไปเพราะมีสารออกซาเลต (Oxalate) ที่หากสะสมในร่างกายมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในไตได้ แต่หากเรารับประทานในจำนวนพอเหมาะเว้นระยะบ้างเชื่อกันว่าชะพลูจะช่วยปรับธาตุในร่างกายให้สมดุล

ยาแก้โรคเหน็บชา สูตรที่ 1

  ยาแก้โรคเหน็บชา สูตรที่ 1



 ให้เอายาดา 1 รากชะพลุ 1 แก่ขนุน 1 แก่นแสมทั้งสอง อย่างละ 1 รากตองแตก 1 หัวแห้วหมู 1 เอามาหนักสิ่งละ 1 บาทเท่ากัน โกศน้าเต้าหนัก 6 สลึง แกแลหนัก 6 สลึง มะขามป้อมหนัก 6 สลึง บอระเพ็ด หนัก 6 สลึง ฝางหนัก 6 สลึง เทียนทั้งห้าหนักสิ่งละ 6 สลึง เถาวัลย์เปรียงหนัก 5 บาท ใบมะกา 3 กามือ ฝักราชพฤกษ์ 3 ฝัก ต้มกินก่อนอาหารเช้า กลางวันและเย็น วันละ 3 เวลา ครั้งละครึ่งแก้วใส่กาแฟเย็นเพื่อให้กินง่ายหายจากเหน็บชาดีนักแลฯ

ยาแก้ลมแน่นหน้าอก

ยาแก้ลมแน่นหน้าอก


ให้เอาว่านน้า ผิวมะกรูด ใบมะตูม ไพล ขมิ้นอ้อย กระทือ ขิง พริกไทย ดีปรี สรรพยาทั้ง 9

ยาหอมครอบจักรวาล

ยาหอมครอบจักรวาล


ท่านให้เอาดอกพิกุล 2 ดอกบุนนาค 2 กะลาพัก 2 ขอนดอก 2 ชะลูด 2 จันทร์แดง 2 จันทร์ขาว 2 ส้มชื่น 2 ฝางแสน 2 ผิวส้มโอ 2 ผิวส้มซ่า 2 สมุลแว้ง 2 ชะมดเชียง 2 หญ้าฝรั่น 2 อาพันทอง 2